วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

ตัวละครในเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

1. พระเจ้าอชาตศัตรู
1.1 ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์
1.2 ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง  บ้านเมืองได้รับการทำนุบำรุงจนกระทั่งมีแสนยานุภาพ ประชาชนสุขสงบ มีมหรสพให้บันเทิง
1.3 ทรงมีพระราชดำริจะแผ่พระบรมเดชานุภาพ  โดยจะกรีธาทัพไปตีแคว้นวัชชี 
1.4 ทรงมีความรอบคอบ  เมื่อทรงทราบว่าคณะกษัตริย์ลิจฉวียึดมั่นในสามัคคีธรรมจึงทรงมีพระราชดำริว่า
            ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม                     รบเร้าเอาตาม
กำลังก็หนักนักหนา
           จำจักหักด้วยปัญญา                            รอก่อนผ่อนหา
อุบายทำลายมูลความ
และทรงปรึกษาหารือกับวัสสการพราหมณ์  ซึ่งวัสสการพราหมณ์กราบทูลถึงวิธีการและดำเนินการจนสำเร็จ


2. วัสสการพราหมณ์
วัสสการพราหมณ์เป็นปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เป็นผู้เฉลียวฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์
ลักษณะนิสัยของวัสสการพราหมณ์
2.1 รักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ  เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงปรึกษากับวัสสการพราหมณ์เรื่องที่จะทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเอาเมืองวัชชีไว้ในครอบครองและวัสสการพราหมณ์กราบทูลกลอุบายและวิธีการนั้น  วัสสการพราหมณ์จะต้องกราบทูลขัดแย้งพระราชดำริของพระเจ้าอชาตศัตรูทำให้ถูกลงพระราชอาญาอย่างหนัก  แต่วัสสการพราหมณ์ก็ยอมรับ  ทั้งนี้เพื่อจะได้ไปอาศัยอยู่ที่แคว้นวัชชีและดำเนินอุบายทำลายความสามัคคีได้สะดวก
2.2 จงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรู 
2.3 วัสสการพราหมณ์เป็นคนเฉลียวฉลาด มีไหวพริบและรอบคอบในการดำเนินกลอุบายด้วยความเฉียบแหลมลึกซึ้ง รู้การควรทำและไม่ควรทำ รอจังหวะและโอกาส  การดำเนินงานจึงมีขั้นตอน  มีระยะเวลา  นับว่าเป็นคนมีแผนงาน ใจเย็น ดำเนินงานด้วยความรอบคอบ มีสติ เป็นคุณลักษณะที่ทำให้วัสสการพราหมณ์ดำเนินกลอุบายจนสำเร็จผล  เห็นได้ชัดเจนในขณะที่วัสสการพราหมณ์เข้าเฝ้าฯกษัตริย์ลิจฉวีและได้กล่าวสรรเสริญน้ำพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวีทำให้เกิดความพอพระราชหฤทัย
2.4 มีความรอบคอบ  แม้ว่าวัสสการพราหมณ์จะรู้ชัดว่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีกันแล้ว  แต่ด้วยความรอบคอบก็ลองตีกลองเรียกประชุม  บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็ไม่เสด็จมาประชุมกันเลย ความเพียร  วัสสการพราหมณ์ใช้เวลา 3 ปีในการดำเนินการเพื่อให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีกันซึ่งนับว่าต้องใช้ความเพียรอย่างมาก

3. กษัตริย์ลิจฉวี     
3.1  ทรงตั้งมั่นในธรรม  กษัตริย์ลิจฉวีล้วนทรงยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) 7 ประการ
3.2 ขาดวิจารณญาณ  ทรงเชื่อพระโอรสของพระองค์ที่ทูลเรื่องราวซึ่งวัสสการพราหมณ์ยุแหย่โดยไม่ทรงพิจารณา
3.3 ทิฐิเกินเหตุ  แม้เมื่อบ้านเมืองกำลังจะถูกศัตรูรุกราน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น